เช่น Domain www.hahaha.com เดิมมี IP Address เป็น xx.xx.xx.xx แต่เมื่อตะกี๊นี้เอง ทางผู้ให้บริการเปลี่ยน IP Address ซะงั้น เป็น yy.yy.yy.yy ด้วยอาจจะเพราะ เปลี่ยน Server, เปลี่ยน Hosting, Network ล่ม หรือเหตุผลอื่นๆอะไรก็ไม่รู้
ในเครื่องของเราจะมีการเก็บ IP Address ที่เราไปถามมาจาก DNS เอาไว้ชั่วคราว เพราะว่าเวลาเราเข้าเวปเดิมอีกครั้งเราจะได้ไม่ต้องไปถาม DNS อีกที เพื่อความรวดเร็ว การเก็บนี้เรียกว่า Cache และผลจากการที่ผู้ให้บริการเพิ่งเปลี่ยน IP ของเวป www.hahaha.com เมื่อตะกี๊นี้เอง ทำให้เครื่องของเรายังจำได้ว่า www.hahaha.com มี IP Address เป็น xx.xx.xx.xx อยู่นี่นา ทำไมถึงเข้าเว็ปไม่ได้ เว็ปเป็นอะไรเหรอ เว็ปล่มหรือเปล่า
ถ้าเราทราบสาเหตุว่าเกิดจากการที่เขา/เธอเปลี่ยนไป ถ้ายังงั้นเครื่องเราต้อง Clear Cache ซะแล้ว แต่..ทำยังไงล่ะ
เครื่องใครที่เป็น.......
Microsoft Windows
ใช้คำสั่งดังนี้ครับ
C:\> ipconfig /flushdnsน่าจะได้ผลลัพธ์แบบนี้
ถ้ามีปัญหาอยู่บ่อยๆ เช่นเป็นผู้ที่ต้องทำงานอยู่กับ Domain เป็นประจำ และรำคาญที่จะ flushdns อยู่บ่อยครั้ง สามารถ Turn Off Dns Caching ไปได้ หรือเราจะ ทำการ Tuning เพื่อปรับให้ระยะการเก็บ Cache น้อยลง ก็สามารถทำได้
MacOS
ใช้คำสั่งดังนี้ครับ
Mac OS Tiger
$ lookupd -flushcacheMac OS Leopard
$ dscacheutil -flushcacheไม่มีผลลัพธ์อะไรออกมา แต่สามารถทดสอบเข้าเว็ป หรือ ping เว็ปนั้นใหม่ได้
Linux
สำหรับ Linux จะมี Daemon(ชื่อเหมือนเจ้าของ Blog) ที่ชื่อว่า nscd เป็น daemon ที่เอาไว้จัดการ dns cache บน linux นั่นเอง ถ้าเราจะ clear cache เราก็แค่ restart เจ้า daemon ตัวนี้ ด้วยการใช้คำสั่ง
/etc/init.d/nscd restart
เท่านี้ก็เรียบร้อย
สำหรับ User ปัญหานี้อาจจะไม่ค่อยมีให้กวนใจเท่าใดนัก แต่สำหรับ Administrator หรือ Operator ฯลฯ ที่มีการทำงานเกี่ยวกับ domain อยู่บ่อยๆ ปัญหานี้อาจจะกวนใจอยู่เสมอ จำเป็นต้องใช้คำสั่งเหล่านี้ในการจัดการ
No comments:
Post a Comment